วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

สรุป INTERNET OF THINGS (IOT)


INTERNET OF THINGS (IOT)

          Internet of Things  คือ สภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ มีการถ่ายโอนข้อมูลร่วมกันผ่านเครือข่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์  ซึ่ง Internet of Things พัฒนามาจากเทคโนโลยีไร้สาย (wireless technology) ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค (micro-electromechanical systems : MEMS) และอินเทอร์เน็ต ซึ่งคำว่า Things ใน Internet of Things นั้น หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่อ้างอิงได้ด้วยเลขไอพี (IP address) และมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านเครือข่าย สรุปให้เข้าใจง่ายๆ Internet of Things ก็คือ เทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั่นเอง

         

สรุป Virtual Reality (VR) & Augmented Reality (AR)


Virtual Reality (VR) & Augmented Reality (AR)

Virtual reality หรือ VR คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั้งกลิ่น โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมาตัวอย่างเช่น การจำลองสถานที่ google street view

Augmented reality หรือ AR คือ การรวม สภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, เทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ เกม Pokemon Go ถือเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญของนักเล่นเกมทั่วโลก

สรุป Quantum Computing

Quantum Computing
Quantum Computing ก็คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนจากการทำงานบนแผงวงจร มาใช้คุณสมบัติพิเศษของอะตอมแทน โดยจากเดิมที่คอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะแทนค่าข้อมูลด้วย Bit อันประกอบด้วยตัวเลข 0 กับ 1 ทีละตัวแล้วนำไปประกอบกัน แต่ระบบ Quantum Computing จะใช้อะตอมที่มีคุณสมบัติของ Quantum Bit หรือ Qubit สามารถประมวลผลเป็นตัวเลข 0 หรือ 1 พร้อมกันได้

คุณสมบัติดังกล่าวทำให้แต่ละ Qubit ทำงานได้เร็วกว่า Bit อย่างมหาศาล นอกจากนี้ Qubit ยังสามารถสื่อสารกับอะตอมที่เป็น Qubit ด้วยกันได้โดยไม่ต้องผ่านสื่อกลาง ทำให้ Qubit สามารถประมวลผลร่วมกันได้ราบรื่นและรวดเร็ว รวมถึงรองรับงานแบบ Multitasking ได้ง่ายกว่า โดยเมื่อปี 2015 มีประกาศจาก Google ว่า Quantum Computer ที่พวกเขาพัฒนาขึ้น มีความเร็วมากกว่า PC ทั่วไปถึง 100 ล้านเท่า!!

แต่อย่างไรก็ตามระบบ Quantum Computing  ก็มีข้อจำกัดอยู่ เช่นตัว Qubit ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอมและเปราะบาง หากมีสิ่งรบกวนเพียงเล็กน้อย Qubit ดังกล่าวก็จะหายไปพร้อมข้อมูลภายใน อีกทั้งยังไม่พบวิธีการคัดลอก Qubit เพื่อสำรองข้อมูลโดยสมบูรณ์ ยังไม่นับเรื่องการเก็บรักษา Qubit ให้พร้อมใช้งานซึ่งต้องอยู่ในอุณหภูมิศูนย์สมบูรณ์หรือ -273.15 องศาเซลเซียส

จริงๆ แล้วแนวคิดเรื่องการนำ Quantum มาใช้กับคอมพิวเตอร์ มีมาตั้งแต่ยุคปี 1980 แต่เนื่องจากมีความซับซ้อนทางฟิสิกส์ค่อนข้างสูงมาก รวมถึงต้องทำงานวิจัยในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การวิจัยจึงยังอยู่ในวงจำกัด ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นระบบ Quantum Computing จึงได้รับการสานต่อโดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่และประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ จนมีแนวโน้มว่าเราอาจจะได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลโดย Qubit ภายใน 10 ปีที่จะถึงนี้ และด้วยความเร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมที่เราใช้กันอย่างเทียบไม่ติด มันจึงเข้ามา Disrupt การใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เปลี่ยนไป ลองมาดูตัวอย่างการนำระบบ Quantum Computing ไปใช้ในด้านต่างๆ

พลิกรูปแบบ Online Security - ปัจจุบัน ระบบ Online Security จะทำงานด้วยการเข้ารหัสจำนวนมาก แน่นอนว่า Quantum Computing สามารถถอดรหัสทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย แต่หากว่าเรานำ Quantum Computing มาเป็นเครื่องประมวลผลรหัสแทนก็อาจจะได้แม่กุญแจและกุญแจที่แข็งแรงกว่าที่เคย

ลับสมองให้ AI - พลังประมวลผลอันรวดเร็วจากระบบ Quantum Computing ที่สามารถเร่งกระบวนการเรียนรู้ของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ได้ ทำให้ AI ถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดียิ่งขึ้น

ทดลองทางเคมีเพื่อพัฒนายารักษาโรค - การสร้างยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องอาศัยการคำนวณอันละเอียดและแม่นยำ Quantum Computing ไม่เพียงแต่ทำได้รวดเร็ว แต่ยังสามารถคำนวณค่าต่างๆ พร้อมกัน อีกทั้งในอนาคตการออกแบบยารักษาโรคจะลงลึกไปถึงในระดับวิเคราะห์ DNA เพื่อผลิตยาที่เหมาะกับแต่ละคน ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Qubit สามารถตอบโจทย์ทั้งด้านความแม่นยำและเวลาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยได้ทันท่วงที

พัฒนาการพยากรณ์อากาศให้แม่นยำยิ่งขึ้น - ภัยพิบัติทางธรรมชาติก่อความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินมากมาย แต่ด้วยเครื่องมือปัจจุบัน การพยากรณ์อากาศแทบจะเป็นเกมเดาสุ่ม แม้เราจะมีความรู้แต่การคำนวณของเรากลับไม่รวดเร็วพอที่จะป้องกันเหตุได้ เราจึงจำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพของ Quantum Computing เพื่อปรับปรุงการคาดการณ์ให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน หน่วยงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้นำเทคโนโลยี Quantum Computing มาใช้เพื่อจำลองแนวโน้มสภาพอากาศในปัจจุบัน ทำให้เรามีข้อมูลมากพอจะคาดเดาอากาศได้แม่นยำขึ้น

ช่วยจัดการคมนาคมให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ - ไม่ว่าจะบนฟ้า บนพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ ความเร็วของ ระบบ Quantum Computing สามารถนำมาใช้ประเมินเส้นทางให้เราเดินทางได้ประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้ทางบนวิถีการจราจรอันซับซ้อนขึ้นทุกวัน

สรุป. Blockchain technology

Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงิน และสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ อีกในอนาคต โดยไม่มีตัวกลาง คือสถาบันการเงิน หรือสำนักชำระบัญชี ระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมา ยกตัวอย่างการทำธุรกรรมด้วย Bitcoin จะมีรหัส Token สร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับ Blockchain และทำการตรวจสอบว่า Bitcoin นั้นๆ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ก่อนที่จะทำธุรกรรมให้สำเร็จต่อไป

เท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันออกไป ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลง และอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีอีกในอนาคตได้เลย หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์

ขณะที่ Blockchain ไม่เพียงมีบทบาทอยู่แค่การทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น หากแต่ยังอาจถูกนำไปใช้ในงานอื่นๆ เช่น การเก็บสถิติการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใสมากขึ้น การให้ยืม Cloud Storage ระหว่างกัน, บริการ co-location, ระบบ Peer to Peer Lending และอื่นๆ  อีกมากมาย ซึ่งแม้แต่เหล่าธนาคารเองก็ตัดสินใจเข้าลงทุนในการทำ Blockchain มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด เหล่าสถาบันการเงินอย่างธนาคาร Citibank ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ รวมไปถึงบริษัท VISA ก็ได้เข้าลงทุนในบริษัทบล็อกเชนชั้นนำอย่าง Chain.com เพื่อแนวทางรักษาตลาดเทคโนโลยีนี้เช่นกัน

แนวคิด Blockchain เริ่มกลับมาเป็นกระแสที่ต้องจับตามมองอีกครั้ง พร้อมมีการพัฒนาใหม่ๆ ไปสู่การใช้งานที่มากกว่าการทำธุรกรรม Bitcoin ในอดีตที่ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก ผนวกรวมกับกระแสการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ที่ใช้แนวคิด อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things) จำเป็นต้องมีการจัดการ ดูแลอย่างการรักษาความปลอดภัยระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และความจำเป็นที่จะต้องบันทึกฐานข้อมูลของการติดต่อต่างๆ เหล่านั้น ทำให้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนบุคคลจะกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญของการใช้งานดังกล่าว โดยลดขั้นตอนระบบการทำงานให้เรียบง่ายขึ้น มีการยืดหยุ่นที่สูงขึ้น รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

แต่กระนั้นความสำเร็จของ Blockchain จะสามารถพลิกสถานะการให้บริการด้านการเงินโลกดิจิทัลได้หรือไม่ การหาพาร์ตเนอร์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับระบบความซับซ้อน และความหลากหลาย ในทุกระดับการใช้งานไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาไอเดียทางธุรกิจเหล่านี้ ต่างเคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง หากแต่ปัจจุบันเรื่องเช่นนี้ได้กลายเป็นตัวกำหนดผู้ชนะในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการมองว่าซอฟต์แวร์คือตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่นั่นเอง

สรุป AI : Artificial Intelligence

(AI : Artificial Intelligence)

เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้  การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ  เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)

AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง  ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด  โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์

AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้

1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ  AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง)  อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery)  ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน  แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัดได้นั่นเอง  ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ที่ระดับนี้

2 ) ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General AI )  : คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆอย่างที่มนุษย์ทำได้และได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์

3) ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆด้าน

จะเห็นได้ว่าวิทยาการของมนุษย์ปัจจุบันอยู่ที่จุดเริ่มต้นของ AI เพียงเท่านั้น

     โดยสรุป , ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สามารถรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถรับมือได้  เเละ AI ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อแทนมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยให้เราสามารถมีเวลาไปโฟกัสงานที่สำคัญและสามารถสร้างมูลค่าได้มากกว่า นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ AI ในระดับอุตสาหกรรม ยังช่วยลดต้นทุนเเละเพิ่มรายได้มหาศาล

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

Mini Project ไฟจราจรจำลอง PIC16F628A


Mini Project ไฟจราจรจำลอง 






อุปกรณ์

1. PIC16F628A

2. 7SEGMENT common cathode

3. IC 7SEGMENT 7448

4. LED  green,red,yellow

5. CAPACITOR 22pF

6. CRYSTAL 4MHz

7. แหล่งจ่ายไฟ 5 V


Code

void three(void);
       void twenty (void);
       void thirty (void);
       void main()
       {
     TRISA = 0x00;
     TRISB = 0x00;
     PORTB = 0;

  while(1)
   {
      thirty ();
      three ();
      twenty ();
      three ();
      }
}

  void three (void)
  {

    PORTB= 0b00110010;   //3
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00100010;  //2
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00010010; //1
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00000010;   //0

       }
   void twenty (void)
  {
     PORTA=0b00000011; //R2 GR1
     PORTB= 0b00001000;  //20
     delay_ms(500);
     PORTB= 0b10010100;  //19
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b10000100;   //18
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01110100;   //17
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01100100;   //16
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01010100;    //15
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01000100;   //14
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00110100;   //13
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00100100;  //12
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00010100; //11
      delay_ms(500);
    PORTB= 0b00000100;  //10
    delay_ms(500);
    PORTB= 0b10010000;  //9
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b10000000;   //8
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01110000;   //7
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01100000;   //6
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01010000;    //5
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01000000;   //4
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00110000;   //3
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00100000;  //2
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00010000; //1
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00000000;   //0
      PORTA =0;
  }
  void thirty (void)
  {
       PORTA=0b0001100 ; //GR2 R1
       PORTB= 0b00001100;  //30
     delay_ms(500);
  PORTB= 0b10011000;  //29
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b10001000;   //28
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01111000;   //27
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01101000;   //26
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01011000;    //25
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01001000;   //24
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00111000;   //23
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00101000;  //22
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00011000; //21
      delay_ms(500);
  PORTB= 0b00001000;  //20
     delay_ms(500);
     PORTB= 0b10010100;  //19
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b10000100;   //18
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01110100;   //17
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01100100;   //16
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01010100;    //15
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01000100;   //14
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00110100;   //13
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00100100;  //12
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00010100; //11
      delay_ms(500);
    PORTB= 0b00000100;  //10
    delay_ms(500);
    PORTB= 0b10010000;  //9
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b10000000;   //8
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01110000;   //7
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01100000;   //6
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01010000;    //5
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b01000000;   //4
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00110000;   //3
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00100000;  //2
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00010000; //1
      delay_ms(500);
     PORTB= 0b00000000;   //0
       PORTA =0;

  }

คลิปการทำงาน







วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

โครงงานที24


code

void beep(void);
 main()
{
 int time1,time2;
 TRISB = 0xF0;

   while(1)
  {
    PORTB.F1=0;
    PORTB.F2=0;
    PORTB.F3=0;
  while(~PORTB.F4&PORTB.F5&PORTB.F6)
  {
    PORTB.F1=1;
    PORTB.F2=0;
    PORTB.F3=0;
    for(time1=0;time1<20000;time1++)
    {
    while(PORTB.F4&~PORTB.F5&PORTB.F6)
    {
     PORTB.F1=1;
     PORTB.F2=1;
     PORTB.F3=0;
     for(time2=0;time2<10000;time2++)
     {
     while(PORTB.F4&PORTB.F5&~PORTB.F6)
            {
             PORTB.F1=1;
             PORTB.F2=1;
             PORTB.F3=1;
             beep();
             Delay_ms(1000);
            }
            }
         }
         }
       }
      }
  }
void beep(void)
{
  int i ;

  for(i=0;i<200;i++)
   {
     PORTB.F0=1;
     Delay_us(200);
     PORTB.F0=0;
     Delay_us(200);
   }

}